15 กันยายน 2556

การดำรงชีวิตของพืช (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4)



 พืชและสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องการปัจจัยบางประการที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์แตกต่างกันหรือไม่ ศึกษาได้จากบทเรียนนี้  
ปัจจัยในการการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช




             จากการทำการทดลอง ทำให้เราทราบว่า ปัจจัยที่ทำให้เมล็ดพืชงอกเป็นต้นพืชใหม่ได้ คือ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่น้ำหรือความชื้น อุณหภูมิที่พอเหมาะ และอากาศ
             
เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ เราต้องให้ความชื้นแก่เมล็ด เช่น นำเมล็ดวางบนกระดาษชำระที่พรมน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับความชื้นในดิน นอกจากนี้ต้องมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ คือ ไม่ร้อนหรือไม่เย็นเกินไป จึงจะเป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการงอกของเมล็ด
              
เมื่อเมล็ดงอก ส่วนที่ยื่นออกมาจากเมล็ดเป็นอันดับแรก คือ รากหลังจากนั้นส่วนของลำต้นและใบจะงอกตามมา
              
จากการทดลอง ทำให้เราทราบว่า พืชต้องการน้ำในการเจริญเติบโตถ้าพืชไม่ได้รับน้ำจะค่อยๆ  เหี่ยวและตายในที่สุด นอกจากนี้พืชยังต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต เพราะแสงแดดจะกระตุ้นให้พืชสร้างาสารสีเขียว ที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ ทำให้พืชสามารถสร้างอาหารเองได้
             นอกจากน้ำและแสงแดดแล้ว พืชยังต้องการธาตุอาหารในดินเพื่อการเจริญเติบโต และต้องการอากาศในการหายใจเช่นเดียวกับคนและสัตว์ถ้าไม่มีอากาศหายใจ พืชก็จะตาย



ปัจจัยในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์
สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการอากาศ อาหาร และน้ำเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์
 1. 
อากาศ สัตว์ทุกชนิดต้องการอากาศในการหายใจ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ถ้ามีมีอากาศหายใจ สัตว์ต่าง ๆ ก็จะตาย
 
สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก เช่น สุนัข แมว วัว ม้า ช้าง เป็ด ไก่ จะหายใจโดยใช้อากาศที่อยู่รอบตัว ส่วนสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลา กุ้ง หอย จะได้รับออกซิเจนจากอากาศที่อยู่ในน้ำ
2. 
น้ำ สัตว์ทุกชนิดต้องการน้ำในการดำรงชีวิตด้วย ถ้านักเรียนสังเกตรอบ ๆ บริเวณแหล่งน้ำตามธรรมชาติ จะพบว่า มีสัตว์อาศัยอยู่มากมาย สัตว์ต้องดื่มน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสัตว์ขาดน้ำเป็นเวลานาน สัตว์ก็จะตาย
 3. อาหาร สัตว์ต่าง ๆ ต้องกินอาหาร สัตว์ต้องการอาหารเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตต่อไปได้
        สัตว์แต่ละชนิดกินอาหารแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกสัตว์ได้ตามลักษณะอาหารที่กินได้เป็น ประเภท ดังนี้
        1. สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร
        
สัตว์ประเภทนี้มีมากมายหลายชนิด เช่น ช้างกินพืช ผัก และผลไม้บางชนิดเป็นอาหาร วัว ควาย กระต่าย กินหญ้าเป็นอาหาร กวางกินใบไม้นกบางชนิดกินผลไม้และน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้เป็นอาหาร
        2. 
สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร
        
สัตว์บางชนิดล่าสัตว์ชนิดอื่นกินเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ จระเข้ กินเนื้อสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็ก กว่าเป็นอาหาร เช่น ม้าลาย กวาง ละมั่ง หมูป่า งูกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ นก หนู กระต่าย จิ้งจก ตุ๊กแก กิ้งก่า กบ เขียด อึ่งอ่าง กินแมลงชนิดต่าง ๆ นกบางชนิดเป็นนกนักล่า เช่น นกอินทรี เหยี่ยว นกฮูก จะกินสัตว์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น  งู หนู นก กระต่าย ปลา กบ
        3. 
สัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร
        สัตว์บางชนิดสามารถกินได้ทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร เช่น เป็ด ไก่ สุนัข สุกร หมี หนู







วงจรชีวิตสัตว์ (ชั้นประถมศึกษาปีที่  4)

ความหมาย     วงจรชีวิตของสัตว์ หมายถึง ชีวิตการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เจริญเติบโตต่อเนื่องกันมาอย่างเป็นระเบียบ การเจริญเติบโตของสัตว์บางชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการเจริญเติบโตเช่น กบ ตอนแรกมาจากแม่ครั้งแรกจะเป็นไข่ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนจากไข่กลายเป็นลูกอ๊อด เมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยหางจะหดลงแล้วขึ้นมาหากินบนบกจนกลายเป็นกบ

Metamorphosis  
    
 การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเป็นขั้น ๆ ในระหว่างเจริญเติบโตได้แก่ สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และแมลงเกือบทุกชนิด

การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ชั้น (Complete Metamorphosis)
     เมตามอร์โฟซีสแบบสมบูรณ์ คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างครบ 4 ขั้น คือ ไข่ (egg) è ตัวอ่อน (larva) è ดักแด้ (pupa) è ตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ ยุง ผีเสื้อ ผึ้ง มด ต่อ แตน ไหม แมลงวัน ด้วง

การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ครบ 4 ชั้น (Incomplete Metamorphosis)
       เมตามอร์โฟซีสแบบไม่สมบูรณ์ คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไม่ครบขั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น คือ ไข่ (egg) èตัวอ่อนในน้ำ (naiad) è ตัวเต็มวัย (adult) ได้แก่ แมลงปอ ชีปะขาว จิงโจ้น้ำ


การเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบค่อยเป็นค่อยไป (Gradual Metamorphosis)
      เมตามอร์โฟซีสแบบค่อยเป็นค่อยไป คือ แมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูป่างที่ละน้อยไม่ครบขั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง ขั้น คือ ไข่ (egg) è ตัวอ่อน (mymph) è ตัวเต็มวัย (adult)  ได้แก่ แมลงสาบ ตั๊กแตน จิ้งหรีด จักจั่น มวนต่าง ๆ เหา ปลวก ไร เรือด เพลี้ย






การเติบโตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ (Ametamorphosis)
     การเจริญเติบโตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเป็นขั้น ๆ ในระหว่างเจริญเติบโต ตัวอ่อนจะมีลักษณะรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อนคลาน สัตว์ปีก แมลงบางชนิด เช่น ตัวสองง่าม ตัวสามง่าม แมลงหางดีด





กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ชั้นประถมศึกษาปีที่  4)
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
    
        พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญต่อโลก คือ เป็นจุดเริ่มต้นที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานเคมีในรูปอาหาร โดยการนำเอาน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์มาทำปฏิกิริยาเคมีกัน โดยมีแสงเป็นพลังงานกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยา ผลผลิตที่ได้คือ น้ำตาลกลูโคสซึ่งน้ำตาลส่วนหนึ่งจะนำไปสังเคราะห์เป็นสารอื่นเก็บสะสมไว้ และยังได้ไอน้ำ และแก๊สออกซิเจน ซึ่งพืชจะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมสำหรับแก๊สออกซิเจนจะเป็นแก๊สที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ

โครงสร้างของใบพืช
          
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบในภาพ คือ ใบพืชตัดตามขวางจากด้านบน (ด้านที่รับแสง) มายังด้านล่าง ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่าง ดังนี้


โครงสร้างของใบพืชตัดตามขวางจะเห็นเซลล์ที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป

ความสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง
         
พืชสีเขียวมีบทบาทสำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนพื้นโลก รวมทั้งมนุษย์เราด้วย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของกานใช้พลังงาน โดยการนำพลังงานแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในรูปของอาหารเก็บไว้ในรูปของเนื้อเยื่อ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน พลังงานเหล่านี้จะถ่ายทอดไปสู่สัตว์และคนที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร
    
    นอกจากนี้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ยังได้แก๊สออกซิเจนและไอน้ำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกจากใบสู่อากาศส่วนพืชในน้ำก็ปล่อยออกซิเจนสู่แหล่งน้ำ สัตว์ทั้งในน้ำและบนบกได้นำแก๊สออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ
    
     กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในปฏิกิริยา ดังนั้น พืชสีเขียวจึงมีประโยชน์ช่วยลดปริมาณของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
    
     ดังนั้นจึงกล่าวไว้ว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
     น้ำตาลเป็นสารชนิดแรกที่พืชสร้างขึ้นได้เองก่อนที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นแป้งและสารอื่น ๆ ต่อไปกระบวนการสร้างน้ำตาลของพืชเราเรียกว่า กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ซึ่งพืชต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในกระบวนการนี้

ปัจจัยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     ปัจจัยสำคัญที่พืชจำเป็นต้องนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่

     1)  คลอโรฟิลล์ มีอยู่ในคลอโรพลาสต์

     2)  แสง คลอโรฟิลล์จะดูดซับพลังงานแสงเข้ามาในใบพืช

     3)  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ พืชจะรับเข้ามาทางปากใบที่เปิดในเวลากลางวัน    

     4)  น้ำ  รากพืชจะดูดน้ำขึ้นมาแล้วลำเลียงต่อไปยังใบโดยผ่านทางลำต้นพืช

จากปัจจัยที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงดังกล่าว แสดงว่ากระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีแสงเท่านั้น คือ ช่วงเวลากลางวันโดยใช้แสงจากดวงอาทิตย์

สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
     พืชต้องการแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยมีคลอโรฟิลล์ และแสง เป็นตัวกระตุ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ น้ำตาลกลูโคส และ แก๊สออกซิเจน ซึ่งสามารถเขียนปฏิกิรยาที่เกิดขึ้นได้ด้วยสมการเคมีที่เรียกว่า สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้
        6CO2                 +    6H2O           แสง                  C6H12O6        +             6O2                      +     6H2O
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์         น้ำ          คลอโรฟิลล์              น้ำตาลกลูโคส                แก๊สออกซิเจน                        น้ำ
คุณรู้หรือไม่ ?
     ในใบพืชที่มีสีอื่น เช่น สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล เช่น ใบโกสน หรือใบฤาษีผสมก็มีคลอโรฟิลล์อยู่ แต่เนื่องจากมีปริมาณคลอโรฟิลล์น้อย จึงทำให้มองเห็นสีเขียวได้ไม่ชัดเจน แต่ใบพืชเหล่านี้ยังสามารถสร้างอาหารได้เช่นกัน ส่วนใบพืชที่กลายพันธุ์เป็นสีขาวจะไม่สามารถสร้างอาหารได้ หากกลายพันธุ์หมดทั้งต้นจะเรียกว่า พืชเผือก ซึ่งต้นพืชจะมีสีขาวทั้งต้นและมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน เช่น ข้าวโพดเผือก จะไม่สามารถเจริญเติบโตจนออกฝักได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น